วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความสำคัญและประโยชน์เศรษฐกิจพอเพียง

ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองนครัวเรือน เหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "

"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

http://www.parliament.go.th/news/prnews/images/Prnews_10912.aahttp://pcoc.moc.go.th/pcocsys/uploadfile/64/jpg/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87.jpg

http://blog.hunsa.com/jintju555/blog/14307

หลักแนวคิดและทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

การ พัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำhttp://61.19.69.9/~purita/studentwork50/310b/28498/image/Clip_3.jpg

ทฤษฏีใหม่
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
การ ผลิต ทฤษฎีในขั้นที่ หนึ่งหรือที่รู้จักกันดีในอีกชื่อหนึ่งว่า "เกษตรทฤษฎีใหม่" เป็นขั้นเริ่มต้นที่มีความสำคัญเพราะว่าเป้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิต

การจัดแบ่งพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระ องค์ทรงคิดคำนวณเป็นสูตรไว้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ คือในพื้นที่แต่ละแปลงควรประกอบไปด้วย นา 5 ไร่ พืชไร่และพืชสวน 5 ไร่ สระน้ำ 3 ไร่ ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ อีก 2 ไร่ รวมทั้งหมด 15 ไร่และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 : 30 ; 30 ; 10 : ซึ่งสัดส่วนนี้อาจปรับเปลี่ยนหรือยิดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง : การรวมพลังกัน
เมื่อ เกษตรกรเริ่มเข้าใจถึงกลักการและวิธีการ และได้ดำเนินการในที่ดินของตนตามทฤษฎีใหม่ เมื่อได้ผลก้เริ่มขั้นที่ สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกัน ดำเนินการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การผลิต
2. การตลาด
3. การเป็นอยู่
4. การศึกษา
5. สวัสดิการ
6. สังคมและศาสนา

http://www.doae.go.th/report/SE/html/02.htm

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประวัติและความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่9 (พ.ศ.2545-2549)ได้อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ความรอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับนำหลักปรัชญาฯ ไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดรงชีวิตในด้านต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ประชาชนอยู่อย่างรมเย็นเป็นสุข สังคมมีความเข้มแข็งและประเทศชาติมั่นคง




http://www.sufficiencyecnomy.org

ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัชชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่ผสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและการบริหารประเทศ ที่ต้องอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบและคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจการกระทำ
enoughe.conomy.blogspot.com

เกษตรและทฤษฎีใหม่

สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

สารควบคุมการเจริญเติบโต หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฮอร์โมน จัดเป็นกลุ่มของสารที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบันนี้ เนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางและเห็นผลได้ค่อนข้างเด่นชัด โดยมากใช้ในการติดผลเร่ง หรือชะลอการแก่ การสุก ซึ่งลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ถูกควบคุมโดยสารแต่ละชนิดแตกต่างกันไป ดังนั้น ถ้ามีการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องก็จะทำให้เราสามารถควบคุมการเติบโตของพืชได้ตามต้องการ

เมื่อกล่าวถึง ฮอร์โมนพืช (plant hormones) ก็เชื่อว่าทุกท่านคงเคยได้ยินและรู้จักว่าเป็นสารที่ใช้ฉีดพ่นต้นไม้เพื่อให้มีการออกดอก ติดผลตามที่ต้องการ แต่โดยความจริงแล้ว คำว่า ฮอร์โมนพืชนี้มีความหมายในเชิงวิชาการว่า เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นเอง ในปริมาณน้อยมาก แต่มีผลในด้านการส่งเสริมหรือยับยั้งการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายในต้นพืชนั้น ๆ ทั้งนี้ไม่รวมพวกน้ำตาลหรือสารอาหารที่เป็นอาหารพืชโดยตรง จะเห็นได้ว่าพืชสร้างฮอร์โมนขึ้นน้อยมาก โดยมีปริมาณเพียงพอที่จะควบคุมการเติบโตภายในต้นพืชนั้น ๆ ดังนั้นการสกัดสารฮอร์โมนออกมาจากต้นพืช เพื่อไปพ่นให้ต้นไม้อื่น ๆ จึงเป็นเรื่องยากและไม่คุ้มค่า จึงได้มีการค้นคว้าและสังเคราะห์สารต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์แทน เมื่อเป็นเช่นนี้ สารที่เรานำมาฉีดพ่นให้ต้นพืชเพื่อให้เกิดลักษณะตามที่เราต้องการนั้น จึงไม่ใช่ฮอร์โมนพืช แต่จัดเป็นสารสังเคราะห์ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนจึงได้มีการบัญญัติศัพท์ทางวิชาการขึ้นมาว่า สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulartors) ซึ่งมีความหมายถึงฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ มีคุณสมบัติในการกระตุ้นยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชได้

การเติบโตของพืชในทุกขั้นตอนล้วนแล้วแต่ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการงอกของเมล็ดจนกระทั่งต้นตาย ดังนั้นการใช้สารสังเคราะห์ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนฉีดพ่นให้กับต้นพืชจึงเป็นการเปลี่ยนระดับความสมดุลของฮอร์โมนภายใน ทำให้ต้นพืชแสดงลักษณะต่าง ๆ ออกมานอกเหนือการควบคุมของธรรมชาติ แต่ก่อนที่จะใช้สารสังเคราะห์เหล่านี้ให้ได้ผลควรที่จะต้องศึกษาคุณสมบัติฮอร์โมนและสารสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ โดยละเอียดเสียก่อน
สารควบคุมการเจริญเติบโตแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 7 กลุ่มด้วยกันคือ

1. ออกซิน (auxins) เป็นกลุ่มของสารที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขยายขนาดของเซลล์ (cell enlargement) การแบ่งตัวของเซลล์ในแคมเบี่ยม การขยายขนาดของใบ การเกิดราก การขยายขนาดของผล ป้องกันการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล ยับยั้งการแตกตาข้าง ฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นก็คือ ไอเอเอ (IAA) โดยสร้างมากที่บริเวณปลายยอด ปลายราก ผลอ่อน และบริเวณที่มีเนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) อยู่มาก ปริมาณ ไอเอเอ ภายในเนื้อเยื่อพืชแต่ละส่วนมีมากน้อยแตกต่างกันไป โดยจะมีอยู่มากในส่วนที่กำลังเจริญเติบโต การรักษาระดับปริมาณภายในเนื้อเยื่อพืชถูกควบคุมโดยระบบการสร้างและการทำลายพร้อม ๆ กันไป ถ้าเป็นเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญเติบโตจะมีการสร้างมากกว่าการทำลาย และในทางตรงกันข้าม ในเนื้อเยื่อที่มีอายุมากขึ้น จะมีการทำลายมากกว่าการสร้าง


สารสังเคราะห์ที่จัดอยู่ในกลุ่มออกซิน ที่ใช้กันมากได้แก่
  • เอ็นเอเอ (NAA)
  • ไอบีเอ (IBA)
  • 4-ซีพีเอ (4-CPA)
  • 2,4-ดี (2,4-D)


2. จิบเบอเรลลิน (gibberellins) เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการยืดตัวของเซลล์ (cell elongation) ทำลายการพักตัวของพืช กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด และยับยั้งการออกดอกของพืชบางชนิด สารกลุ่มนี้มีทั้งที่พืชสร้างขึ้นเอง และเชื้อราบางชนิดสร้างขึ้น ในปัจจุบันพบจิบเบอเรลลินทั้งหมด 71 ชนิด โดยที่ทุกชนิดเรียกชื่อเหมือนกันคือ จิบเบอเรลลิน เอ หรือ จีเอ (gibberellin A) (GA) แต่มีหมายเลขตามหลังตั้งแต่ 1 ถึง 71 เช่น จีเอ 3, จีเอ 4, จีเอ 7 (GA3, GA4, GA7) สารจีเอ 3 เป็นจิบเบอเรลลินที่นำมาใช้มากทางการเกษตร โดยมีชื่อเรียกเฉพาะของสาร จีเอ 3 ว่า จิบเบอเรลลิก แอซิค (gibberellic acid) พืชสามารถสร้าง จีเอ3 ได้โดยมีปริมาณน้อยมาก ซึ่งจีเอ 3 ที่นำมาใช้ทางการเกษตรนั้น ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเชื้อราบางชนิดแล้วสกัดจีเอ 3 ออกมา เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถสังเคราะห์ จีเอ ได้ด้วยวิธีทางเคมี


3. ไซโตไคนิน (cytokinins) เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของพืช ชะลอการแก่ชราและกระตุ้นการแตกตาข้าง พบมากในบริเวณเนื้อเยื่อเจริญและในคัพภะ (embryo) ส่วนใหญ่แล้วไซโตไคนินมีการเคลื่อนย้ายน้อย แต่มีคุณสมบัติสำคัญในการดึงสารอาหารต่างๆ มายังแหล่งที่มีไซโตไคนินสะสมอยู่ (cytokinin-induced translocation) ฮอร์โมนที่พบในพืชได้แก่ ซีอาติน (zeatin) ส่วนสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มไซโตไคนินได้แก่ บีเอพี (BAP) ไคเนติน (Kinetin)


4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน (ethylene and ethylene releasing compounds) เอทิลีนเป็นก๊าซชนิดหนึ่งและจัดเป็นฮอร์โมนพืช เนื่องจากพืชสร้างขึ้นมาได้ โดยมีผลควบคุมการแก่ชรา การสุก รวมทั้งการออกดอกของพืชบางชนิด และเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล การเหลืองของใบ การงอกของหัวพืช และเมล็ดพืชบางชนิด เอทิลีนจะสร้างมากในส่วนของพืชที่กำลังเข้าสู่ระยะชราภาพ (senescence) เช่น ในผลแก่หรือใบแก่ใกล้หลุดร่วง เนื่องจากเอทิลีนเป็นก๊าซดังนั้นจึงฟุ้งกระจายไปได้ทั่ว จึงไม่มีการเคลื่อนย้ายเหมือนกับฮอร์โมนในกลุ่มอื่น ๆ สารอินทรีย์บางชนิดมีคุณสมบัติคล้ายเอทิลีน เช่น อะเซทิลีน (acetylene) โปรปิลีน (propylene) ดังนั้นจึงอาจนำสารเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้เช่นกัน ยกตัวอย่างได้แก่การใช้อะเซทิลีนในการบ่มผลไม้ และเร่งการออกดอกของสับปะรด เป็นต้น แต่เนื่องจากว่าสารที่กล่าวมานี้เป็นก๊าซ จึงมีความยุ่งยากในการใช้และไม่สามารถควบคุมความเข้มข้นได้แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ในแปลงปลูกพืช ดังนั้นจึงได้มีการสังเคราะห์สารบางชนิด ซึ่งเป็นของเหลวแต่สามารถปลดปล่อยหรือสลายตัวได้ ก๊าซเอทิลีน ซึ่งได้แก่ เอทีฟอน(ethephon)

เอตาเซลาซิล (etacelasil)
สารเอทีฟอน จัดว่าเป็นสารที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง และในปัจจุบันใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมสับปะรด

5. สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (plant growth retardants) สารกลุ่มนี้ไม่จัดเป็นฮอร์โมนพืช แต่เป็นสารสังเคราะห์ทั้งหมด มีคุณสมบัติสำคัญคือ ยับยั้งการสร้างหรือยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในพืช จึงมีผลลดการยืดตัวของเซลล์ ทำให้ปล้องสั้น ใบหนา เขียวเข้ม กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ได้แก่ ทำให้พืชทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้อนจัด เย็นจัด ดินแห้ง ดินเกลือ เพิ่มผลผลิตพืชบางชนิด เพิ่มการติดผลของพืชบางชนิด สารชะลอการเจริญเติบโตที่สำคัญได้แก่

แอนซิมิดอล (ancymidol) คลอมีควอท (chlormequat) แดมิโนไซด์ (daminozide)
พาโคลบิวทราโซล (paclobutrazol)



6. สารยับยั้งการเจริญเติบโต (plant growth inhibitors) สารกลุ่มนี้มีหน้าที่ในการถ่วงดุลกับสารเร่งการเติบโตพวกออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เพื่อให้การเติบโตเป็นไปอย่างพอเหมาะพอดี ส่วนใหญ่มีหน้าที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์ และการเติบโตของเซลล์ ทำให้เกิดการพักตัว (dormancy) และเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของอวัยวะพืช ฮอร์โมนในกลุ่มนี้มีพบในพืชมีกว่า 200 ชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดและรู้จักกันดีคือ เอบีเอ (ABA) (abscisic acid) ในทางการเกษตรมีการใช้ประโยชน์จากสารกลุ่มนี้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม มีการใช้สารสังเคราะห์เพื่อประโยชน์บางอย่างเช่นยับยั้งการงอกของหัวมันฝรั่งและหอมหัวใหญ่ ระหว่างการเก็บรักษา ใช้แทนการเด็ดยอด (pinching) เพื่อกระตุ้นให้แตกตาข้าง รวมทั้งยับยั้งการเติบโตทางกิ่งใบซึ่งมีผลในการกระตุ้นดอกได้ในพืชบางชนิด สารสังเคราะห์ที่สำคัญได้แก่ คลอฟลูรีนอล (Chlorflurenol)

ไดกูแลก โซเดียม (dikegulac sodium) มาเลอิกไฮดราไซด์ (maleic hydrazide) ทีไอบีเอ (TIBA)

7. สารอื่น ๆ (miscellaneous) เป็นกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากทั้ง 6 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่ใช้เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง เช่น เพิ่มผลผลิต ขยายขนาดผล ป้องกันผลร่วง ช่วยในการแบ่งเซลล์ อย่างไรก็ตามยังจัดว่ามีประโยชน์ค่อนข้างน้อยและการใช้ยังไม่กว้างขวาง ยกตัวอย่างสารเหล่านี้ได้แก่ เออร์โกสติม, อโทนิก เป็นต้น

http://www.northernstudy.org/plant_hormones.html

แก๊สชีวภาพ


แก๊สชีวภาพ

ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศเจริญเติบโตและพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลจากการเลี้ยงสัตว์ได้ก่อให้เกิดปัญหาของเสียและน้ำเน่าจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากฟาร์มสุกร กำลังเป็นปัญหาที่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และปัญหานี้นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แก๊สชีวภาพเป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ได้ประยุกต์นำไปใช้ประโยชน์ในฟาร์เลี้ยงสัตว์เป็นเวลานานมาแล้ว โดยได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการ หลายแห่ง แต่การใช้ประโยชน์ดังกล่าวยังมีปัญหาและข้อจำกัดอยู่ ทั้งนี้เพราะขาดการศึกษา วิจัยและส่งเสริมกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อีกทั้งระบบแก๊สชีวภาพที่มีการก่อสร้าง ในอดีตเป็นชนิดที่ออกแบบเพื่อใช้ประโยชน์ของแก๊สโดยใช้มูลสัตว์เพียงส่วนหนึ่งของฟาร์มเท่านั้น รวมทั้งการทำงานของระบบยังมีปัญหาทางเทคนิคหลายด้าน ปัจจุบันจึงได้ มีการประยุกต์เทคโนโลยีแก๊สชีวภาพไปใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยเน้นการบำบัดของเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์และการรักษาสภาพแวดล้อม นอกเหนือไปจากการใช้ประโยชน์ของ ของเสียและแก๊สเพียงอย่างเดียวมูลสุกรเป็นของเสียที่เกิดจากการทำฟาร์มสุกร ซึ่งในแต่ละปีมีจำนวนมาก ส่วนใหญ่แล้วมูลสุกรที่ปล่อยทิ้งออกจากฟาร์มสุกรไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ หากเกษตรกรนำมูลสุกรมาใช้ก็จะเกิดประโยชน์มากมายทีเดียว เช่น เป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ ปล่อยลงบ่อเลี้ยงปลาหรือนำมาหมักให้เกิดแก๊สมีเทน โดยวิธีแก๊สชีวภาพ บ่อแบบฟิกซ์โดม (โดมคงที่) ก็เป็นอีกบ่อแก๊สชีวภาพชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับฟาร์มขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าบ่อชนิดอื่น แต่ให้ประสิทธิภาพในการหมักแก๊สที่เท่าเทียมกัน

  • ความหมายของแก๊สชีวภาพ
แก๊สชีวภาพ หรือไบโอแก๊ส คือ แก๊สที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จากการย่อยสลายอินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะ ที่ปราศจากออกซิเจน แก๊สชีวภาพประกอบด้วยแก๊สหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน (CH4) ประมาณ 50-70% และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ประมาณ 30-50% ส่วนที่เหลือเป็นแก๊สชนิดอื่น ๆ เช่น ไฮโดรเจน (H2) ออกซิเจน (O2) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ไนโตรเจน (N2) และไอน้ำ
  • ขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์สภาวะปราศจากออกซิเจน
ขบวนการย่อยสลายประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการย่อยสลายสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ เช่น ไขมัน แป้ง และโปรตีน ซึ่งอยู่ในรูปสารละลายจนกลายเป็นกรดอินทรีย์ระเหย ง่าย (volatile acids) โดยจุลินทรีย์กลุ่มสร้างกรด (acid-producing bacteria) และขั้นตอนการเปลี่ยนกรดอินทรีย์ให้เป็นแก๊สมีเทน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดย ุจุลินทรีย์กลุ่มสร้างมีเทน (methane-producing bacteria)
  • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตแก๊สชีวภาพ
การย่อยสลายสารอินทรีย์และการผลิตแก๊สมีปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. อุณหภูมิ (Temperature) การย่อยสลายอินทรีย์และการผลิตแก๊สในสภาพปราศจากออกซิเจน สามารถเกิดขึ้นในช่วงอุณหภูมิที่กว้างมากตั้งแต่ 4-60 องศาเซลเซียสขึ้นอยู่กับชนิดของกลุ่มจุลินทรีย์

2. ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ความเป็นกรด-ด่าง มีความสำคัญต่อการหมักมาก ช่วง pH ที่เหมาะสมอยู่ในระดับ 6.6-7.5 ถ้า pH ต่ำเกินไปจะเป็นอันตรายต่อแบคทีเรียที่สร้างแก๊สมีเทน

3. อับคาลินิตี้ (Alkalinity) ค่าอัลคาลินิตี้ หมายถึง ความสามารถในการรักษาระดับความเป็นกรด-ด่าง ค่าอัลคาลินิตี้ที่เหมาะสมต่อการหมักมีค่าประมาณ 1,000 - 5,000 มิลลิกรัม/ลิตร ในรูปของแคลเซียมคาร์บอร์เนต (CaCO3)

4. สารอาหาร (Nutrients) สารอินทรีย์ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ มีรายงานการศึกษาพบว่า มีสารอาหารในสัดส่วน C:N และ C:P ในอัตรา 25:1 และ 20:1 ตามลำดับ

5. สารยับยั้งและสารพิษ (Inhibiting and Toxic Materials) เช่น กรดไขมันระเหยได้ ไฮโดรเจน หรือแอมโมเนีย สามารถทำให้ขบวนการ ย่อยสลาย ในสภาพไร้ออกซิเจนหยุดชะงักได้

6. สารอินทรีย์และลักษณะของสารอินทรีย์สำหรับขบวนการย่อยสลาย ซึ่งมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้าเกี่ยวข้อง

7. ชนิดและแบบของบ่อแก๊สชีวภาพ (Biogas Plant) บ่อแก๊สชีวภาพ แบ่งตามลักษณะการทำงาน ลักษณะของของเสียที่เป็นวัตถุดิบ และประสิทธิภาพ การทำงานได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ดังนี้

7.1 บ่อหมักช้าหรือบ่อหมักของแข็ง บ่อหมักช้าที่มีการสร้างใช้ประโยชน์กันและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป มี 3 แบบหลักคือ

(1) แบบยอดโดม (fixed dome digester)

(2) แบบฝาครอบลอย (floating drum digester) หรือแบบอินเดีย (Indian digester)

(3) แบบพลาสติกคลุมราง (plastic covered ditch) หรือแบบปลั๊กโฟลว์ (plug flow digester)

7.2 บ่อหมักเร็วหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย แบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก คือ

7.2.1 แบบบรรจุตัวกลางในสภาพไร้ออกซิเจน (Anaerobic Filter) หรืออาจเรียกตามชื่อย่อว่า แบบเอเอฟ (AF) ตัวกลางที่ทำได้จากวัสดุหลายชนิด เช่น ก้อนหิน กรวด พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ไม้ไผ่ตัดเป็นท่อน เป็นต้น ในลักษณะของบ่อหมักเร็วแบบนี้ จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนบนตัวกลาง ที่ถูกตรึงอยู่กับที่แก๊สถูกเก็บอยู่ภายในพลาสติกที่คลุมอยู่เหนือราง มักใช้ไม้แผ่นทับเพื่อป้องกันแสงแดดและเพิ่มความดันแก๊ส

7.2.2 แบบยูเอเอสบี (UASB หรือ Upflow Anaerobic Sludge Blanket) บ่อหมัก เร็วแบบนี้ ใช้ตะกอนของสารอินทรีย์ (sludge) ที่เคลื่อนไหวภายในบ่อหมักเป็น ตัวกลางให้จุลินทรีย์เกาะ ลักษณะการทำงานของบ่อหมักเกิดขึ้น โดยการควบคุมความเร็วของน้ำเสียให้ไหลเข้าบ่อหมักจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน ตะกอนส่วนที่เบาะจะลอยตัว ไปพร้อมกับน้ำเสียที่ไหลล้นออกนอกบ่อ ตะกอนส่วนที่หนักจะจมลงก้นบ่อ

องค์ประกอบของแก๊สชีวภาพ

มีเทน

ประมาณ 50-70%
คาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 2.5-4.5%
ไนโตรเจน ประมาณ 0.5-3.0%
คาร์บอนมอนออกไซด์ ประมาณ 0.5-1.5%
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ประมาณ .01-0.5%

ส่วนประกอบ
1. บ่อเติมมูลสุกร
2. บ่อหมัก
3. บ่อล้น
http://www.northernstudy.org/biogas.html

การเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก

การเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก

1. วัสดุอุปกรณ์

1.1 ยางรถยนต์ปิคอัพ ขนาดรัศมี 15 – 18 นิ้ว ( ถ้าเลือกได้ควรเป็นยางรถปิคอัพ 4 wd เพราะจะมีขนาดใหญ่ สามารถเลี้ยงกบได้จำนวนมาก)
1.2 ท่อ pvc ขนาด 6 หุนขึ้นไป
1.3 ปูนซีเมนต์
1.4 แสลนบังแดด
1.5 พันธุ์กบ และพันธุ์ปลาดุก
1.6 อาหารปลาดุก
1.7 ฝาพัดลมเก่า
1.8 ขวดน้ำกลั่นตัดเป็นกรวย

2. การสร้างคอนโด

2.1 วางท่อระบายน้ำต่อเนื่องกัน ระหว่างคอนโด เพื่อระบายน้ำทิ้งลงสู่บ่อปลาดุก
2.2 นำยางรถยนต์มาวางทับกึ่งกลางท่อระบายน้ำ แล้วใช้ปูนซีเมนต์ยาแนวให้เป็นรูปก้นกะทะเพื่อสะดวกในการให้อาหารและระบายน้ำ
2.3 ทิ้งไว้ให้ปูนแห้ง แล้วนำน้ำมาใส่ให้ท่วมปูน ตัดต้นกล้วยเป็นชิ้นแล้วมาใส่เพื่อเจือจางความเป็นกรด และความเค็มของปูน แล้วล้างออกด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์
2.4 ทำหลังคาแสลนบังแดดเพื่อไม่ให้ยางถูกแสงแดดมากจนเกินไป ซึ่งอาจทำความเสียหายกับกบได้
2.5 นำยางมาวางซ้อนกัน 3 ชั้น
2.6 ปล่อยกบลงคอนโด คอนโดละ 150 ตัว ( อายุกบ 1 – 2 เดือน )
2.7 ใช้ฝาพัดลมเก่าปิดปากด้านบนของคอนโด เพื่อป้องกันกบกระโดดออกไป



|

3. อาหารกบ และการให้อาหาร

3.1 เดือนแรกให้อาหารปลาดุกเล็ก หรือกบเล็ก
เดือนที่สองให้อาหารปลาดุกรุ่น หรือกบรุ่น
เดือนที่สามให้อาหารปลาดุกใหญ่ หรือกบใหญ่

โดยการปิดรูระบายน้ำ โดยใช้ท่อ pvc สวมลงไปแล้วเติมน้ำให้เต็มก้นกะทะ โรยอาหารลงไปให้ลอยน้ำ กบจะลงมากินอาหารจนอิ่มแล้วก็จะกลับเข้าไปหลบอาศัยอยู่ในในวงยางตามเดิม

ในการให้อาหาร ควรจะให้ทีละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง โดยเริ่มให้จากคอนโดแรกจนถึงคอนโดสุดท้าย แล้วย้อนกลับมาดูคอนโดแรกใหม่ ดูว่าอาหารหมดหรือยัง ถ้าหมดก็ให้เพิ่มอีก ให้ทำอย่างนี้ 3 - 5 ครั้งต่อมื้อ เมื่ออาหารเหลือก็ระบายลง สู่บ่อปลาดุก

3.2 อาหารเสริมจะเป็นพวก หนอน หรือไส้เดือนที่เราสามารถเพาะเลี้ยงเองได้
3.3 ใส่น้ำในขอบวงยางเพื่อให้ความเย็นแก่กบ
3.4 ควรถ่ายน้ำทุกวัน เช้าและเย็นก่อนให้อาหาร โดยใช้ขวดน้ำกลั่นที่ใช้แล้ว ตัดเป็นกรวยตักน้ำออกจากวงยาง แล้วระบายน้ำลงสู่บ่อปลาดุก ( ที่ใช้ขวดน้ำกลั่นเพราะมีความอ่อนสามารถตักน้ำจากวงยางได้หมด แม้ตักถูกตัวกบก็จะไม่ระคายเคือง )
3.5 ไม่แนะนำให้ใช้ไฟล่อแมลงให้กบกินกลางคืน เพราะกบจะไม่ได้พักผ่อน จะจ้องแต่จะกินแมลง และข้อสำคัญคือเราไม่รู้ว่าแมลงบางชนิดมีพิษอยู่ในตัว แมลงที่ไปถูกยากำจัดศัตรูพืชและไม่ตายโดยทันทีเมื่อมาเล่นไฟและตกลงไปให้กบ กิน กบกินยาพิษกำจัดแมลงเข้าไปด้วยก็จะทำให้กบตายในที่สุด
3.6 ควรมีการคัดขนาดทุก ๆ สัปดาห์เพราะกบจะมีการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ถ้าไม่คัดขนาดจะเกิดปัญหาการกัดกินกันเองได้
3.7 เมื่อเลี้ยงกบได้ 1 เดือนควรคัดให้เหลือประมาณ 100 ตัวต่อคอนโด เพื่อไม่ให้แออัดเกินไป (ถ้ามีเวลาในการจัดการเพียงพอก็สามารถเลี้ยง 150 ตัวต่อคอนโดไปจนถึงจับขายได้เลย)
3.8 ควรถ่ายพยาธิกบประมาณ เดือนละครั้งจนกว่าจะขาย โดยใช้ดีเกลือ 3 กรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัมให้ครั้งเดียว

4. พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง

ลูกกบอายุประมาณ 1-2 เดือน

5. ระยะเวลาการเลี้ยง

ประมาณ 3-4 เดือน ขึ้นอยู่กับการจัดการและอาหาร (จะขายเมื่อน้ำหนักกบขนาด 3-5 ตัวต่อกิโลกรัม)



ข้อดีของการเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก

-ใช้อาหารอย่างคุ้มค่า ไม่สูญเปล่า เพราะเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยง กบ จะเป็นอาหารของปลาดุกอีกต่อหนึ่ง - ประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างบ่อกบใช้วัสดุอุปกรณ์จากสิ่งเหลือใช้ ได้แก่ ยางรถยนต์เก่า ฝาพัดลมเก่า เป็นต้น
- ดูแลรักษาความสะอาดได้ง่ายลดปัญหาการเกิดโรค
-ประหยัดน้ำในการล้างทำความสะอาดบ่อ
-กบโตเร็วน้ำหนักดี
-ลดปัญหาเรื่องกัดกินกันเองทำให้อัตราการรอดสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์






http://www.northernstudy.org/kob_pradook.htm

การปลูกข้าว

การปลูกข้าว

การทำนาข้าว หมายถึง การปลูกข้าว การปลูกข้าวในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้


1. การปลูกข้าวไร่ การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนและไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกก็เรียกว่า ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น เชิงภูเขามักจะไม่มีระดับ คือ สูง ๆ ต่ำ ๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดินและปรับระดับได้ง่าย ๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักจะปลูกแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูกแล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุมเล็ก ๆ ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร ปากหลุมมีขนาดกว้างประมาณ 1 นิ้ว หลุมนี้มีระยะห่างกันประมาณ 25 x 25 เซนติเมตร ระหว่างแถวและระหว่างหลุมภายในแถว ปกติจะต้องหยอดเมล็ดพันธุ์ทันทีหลังจากที่ได้เจาะหลุม โดยหยอด 5-8 เมล็ดต่อหลุม หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วก็ใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกลงมาหรือเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน ก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขังและไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นดินที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันทีเมื่อสิ้นฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จะต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน การปลูกข้าวไร่ ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม เนื้อที่ที่ใช้ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อย และมีปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก


2. การปลูกข้าวนาดำ การปลูกข้าวในนาดำ เรียกว่า การปักดำ ซึ่งการปักดำนั้นจะกระทำเมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 25-30 วัน จากการตกกล้าในดินเปียกหรือการตกกล้าในดินแห้ง ก็จะโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ สำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าแบบดาปกนั้น ในเมืองไทยยังไม่เคยปฏิบัติ คิดว่าจะต้องมีอายุประมาณ 20 วัน จึงเอาไปปักดำได้ เพราะต้นกล้าขนาด 10-14 วันนั้น อาจมีขนาดเล็กเกินไปที่จะใช้ปักดำในพื้นที่นาของเรา ขั้นแรกให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัด ๆ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้ง สำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าในดินเปียก จะต้องสลัดเอาดินโคลนที่รากออกเสียด้วย แล้วเอาไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้ในเมื่อนานั้นไม่มีน้ำอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนานั้นลึกมาก ต้นข้าวที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรก และทำให้ต้นข้าวจะต้องยึดต้นมากกว่าปกติ จนมีผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่จะให้ได้ผลผลิตสูง จะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร โดยทั่วไปแล้วการปักดำมักใช้ต้นกล้าจำนวน 3-4 ต้นต่อกอ ระยะปลูกหรือปักดำ 25 x 25 เซนติเมตร ระหว่างกอและระหว่างแถว
ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งออกได้เป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลงขนาดเล็ก และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้าเอาไปปักดำในนาผืนใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า indirect seeding ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

3. การปลูกข้าวนาหว่านการปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงไปในพื้นที่นาที่ได้ไถเตรียมดินไว้โดยตรง ซึ่งเรียกว่า direct seeding การเตรียมดินก็มีการไถดะและไถแปร ปกติชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีค้นนากั้น จึงสะดวกแก่การไถด้วยรถแทร็กเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีชาวนาจำนวนมากที่ใช้ แรงวัวและควายไถนา การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ และการหว่านน้ำตม

หลังจากทำการปลูกข้าวแล้ว ยังมีขั้นตอนอื่นๆที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
1. การดูแลรักษา
2. การเก็บเกี่ยว
3. การนวดข้าว
4. การทำความสะอาดเมล็ดข้าว
5. การตากข้าว
6. การเก็บรักษาข้าว
http://www.northernstudy.org/rice.html

การเลี้ยงหมู ( หลุม )

การเลี้ยงหมู ( หลุม )

ใน ปัจจุบันการเลี้ยงหมูบ้าน มีทั้งน้ำเสีย และขี้หมูทีส่งกลิ่นเหม็นกระจายไปทั่ว ส่งผลกระทบทำให้สิ่งแวดล้อมเลวลง เพื่อนบ้านใกล้เคียงก็ทนกลิ่นเหม็นไม่ไหวทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ ตลอด ซึ่งแต่เดิมเรานิยมเลี้ยงหมูไว้ประมาณ 1-2 ตัว เพื่อเอาไว้กินเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน แล้วหาผักหญ้า ต้นกล้วย บอน มะละกอ เอามาเสริมทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สูงเกินไป เป็นการเลี้ยงหมูแบบเก็บออมเงิน เป็นหมูออมสิน แต่ต่อมาวิวัฒนาการด้านอาหารสัตว์ ก้าวหน้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่นสามารถให้อาหารสำเร็จแก่ลูกหมูหย่านม เลี้ยงด้วยอาหาร 4-5 เดือน ก็สามารถทำน้ำหนักตัวได้ถึง 100 กก. แต่เมื่อคิดดูค่าอาหาร การจัดการและเทคโนโลยี แล้วเปรียบเทียบกับราคาขายในท้องตลาด ปรากฏว่า “ ขาดทุน ” ดังคำกล่าวที่ว่า “เลี้ยงหมูให้เจ๊ก” ทุนหาย กำไรหด หลายคนเลิกเลี้ยงกันแล้วหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน

จากข้อความดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า “ ทำไมเราไม่กลับไปเลี้ยงหมูแบบเดิม หรือการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติหละ ” แต่ก็มีเสียงบอกมาว่า “ มันใช้เวลานานและพวกต้นกล้วย บอน มะละกอ หรือพืชผักต่างๆ ที่เป็นอาหารให้หมูก็ไม่ค่อยมี ขี้หมูก็มีกลิ่นเหม็นโชยไปทั่ว ทำให้ไม่อยากเลี้ยง ” แต่จากการศึกษาพบว่าการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม) นอกจากจะให้กำไรงามแก่ผู้เลี้ยง เนื่องจากสามารถลดต้นทุนอาหารได้ถึง 70 % แล้วยังทำให้ภารกิจการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเบาแรงลง ไม่ต้องกวาดพื้นคอกกำจัดขี้หมู ไม่มีกลิ่นขี้หมู ไม่เฉอะแฉะ และไม่มีแมลงวันตอม จนสามารถห่อข้าวไปกินในพื้นคอกหมูได้โดยไม่น่ารังเกียจอีกทั้งดินและขี้หมู ก็สามารถนำไปทำปุ๋ยขายได้อีก เขาทำกันอย่างไร...ไปดูกัน

โรงเรือน

ขนาด ของคอก กว้าง 3.6 เมตร x ยาว 8.1 เมตร ( ประมาณ 30 ตารางเมตร ) สำหรับเลี้ยงหมูได้ 25 ตัว (หมู 1 ตัว ใช้พื้นที่ประมาณ 1.2 ตารางเมตร) สำหรับขนาดของคอกสามารถยืดหยุ่นได้ตามพื้นที่ ลักษณะของคอกต้องมีลักษณะโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรให้อากาศภายนอกเข้าไปในโรงเรือนมาก แล้วระบายออกไปทางด้านบน



พื้นคอก

1. ขุดดินออกให้บุกบงไปประมาณ 90 ซม. แล้วผสมวัสดุเหล่านี้ใส่แทนที่ ให้เต็ม เหมือนเดิมที่ขุดออกไป ได้แก่
1.1 ขี้เลื่อย หรือ แกลบหยาบ 100 ส่วน
1.2 ดินที่ขุดออก 10 ส่วน
1.3 เกลือ 0.3-0.5 ส่วน


เมื่อผสมแกลบ ดิน และเกลือแล้ว ให้ใช้จุลินทรีย์จากน้ำหมักพืช และจุลินทรีย์จากการ หมักนม ราดลงพื้นชั้นที่ 1 เมื่อความลึก 30 ซม. โรยดินชีวภาพเชื้อราขาวบาง ๆ และรดน้ำพอชุ่มแล้วทำเหมือนกันทุกชั้น ต่อไปโรยแกลบดิบปิดหน้าหนึ่งฝามือ แล้วปล่อยหมูลงไปได้เลย เมื่อปล่อยหมูลงไปได้สักพักแล้วก็ใช้จุลินทรีย์ 2 ช้อน ต่อ น้ำ 10 ลิตร พ่นลงพื้นคอกเป็นครั้งคราว เมื่อหมูขับถ่าย จุลินทรีย์นี้เองก็จะเป็นตัวย่อยสลายสิ่งปฏิกูลทั้งหลายลงดินไป เมื่อเลี้ยงหมูไปได้เท่านั้น แล้วก็ผสมพื้นคอกใหม่ใส่เข้าไปแทนที่เรานำไปทำปุ๋ย

พื้นคอกไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดไม่ต้องกวาด หมูจะขุดคุ้ย และมีความสุขอยู่กับการกินจุลินทรีย์ ในบรรยากาศที่สบายด้วยระบบถ่ายเทอากาศที่เป็นธรรมชาติ

การเลี้ยงดู

1. รางน้ำ และรางอาหาร ควรตั้งไว้คนละด้าน เพื่อให้หมูเดินไปมาเป็นการออกกำลังกายการให้อาหารให้เพียงวันละครั้ง

2. ให้พืชสีเขียว 1 ใน 3 ของอาหารที่ให้ เช่น หญ้าสด ต้นกล้วย มะละกอ มันเทศ หรือ วัชพืชที่หมูชอบ

3. อาหารจากตลาดใช้เพียง 30 ส่วน

4. เชื้อราขาวใบไผ่ + ดิน + รำข้าว คลุกผสมไว้ 4-5 วัน เอาอาหารจากตลาดผสมอย่างละครึ่งหมักรวมกันก่อน 24 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปให้หมูกิน หากมีความสามารถหาหอยเชอรี่ นำมาบดผสมลงไปก็จะลดต้นทุนมาก ไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารจากตลาด ส่วนพืชสีเขียวนำมาสับให้กินเป็นอาหารเสริม

5. น้ำดื่ม การผสมน้ำดื่มสำหรับหมู จะใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ผสมกันดังนี้

5.1 หัวเชื้อจุลินทรีย์ผัก หรือผลไม้ 2 ช้อน

5.2 น้ำฮอร์โมนสมุนไพร 1 ช้อน ( เหล้าดองยา )

5.3 นมเปรี้ยว 3 ช้อน

5.4 น้ำสะอาด 10 ลิตร

ผสมให้ดื่มเป็นประจำ หากพื้นคอกแน่น หรือแข็ง ก็ใช้น้ำหมักดังกล่าวพ่น หรือราดจะทำให้พื้นคอกมีกลิ่นหอมจูงใจให้หมูขุดคุ้ย และยังทำให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท และ เกิดจุลินทรีย์มากมาย



http://www.northernstudy.org/moolum.htm

การทำปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากในทางการเกษตร แต่ก็ยังไม่ได้รับความสนใจหรือแพร่หลายเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น เกษตรกรยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญที่แท้จริงของปุ๋ยหมักว่ามีคุณค่าเพียงใดในการช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น หรือช่วยรักษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ดีอยู่เสมอ ไม่เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ อย่างเช่นปัจจุบันนี้ เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เกษตรกรยังขาดแหล่งข้อมูลที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในการทำปุ๋ยหมักอย่างถูกวิธี เป็นเหตุให้การทำปุ๋ยหมักก็ต้องใช้ในปริมาณมาก และมักไม่เห็นผลอย่างชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น

การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองก็ต้องใช้แรงงานค่อนข้างมาก ต้องดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ การผลิตปุ๋ยหมักจึงจะได้ผลอย่างเต็มที่ การที่เกษตรกรจะผลิตปุ๋ยหมักขึ้นมาใช้กันอย่างจริงๆจังๆ จึงต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจในการทำปุ๋ยหมัก ต้องเข้าใจในคุณประโยชน์ที่แท้จริงของปุ๋ยหมัก และจะต้องมีความมุ่งมั่น ความตั้งใจจริงที่จะปรับปรุงที่ดินของตนให้เป็นผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพในการเพาะปลูก

หวังว่าเอกสารฉบับนี้ จะช่วยให้เกษตรกรและผู้สนใจ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถทำและใช้ปุ๋ยหมักได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาที่ดินของตนต่อไป
การทำปุ๋ยหมักคือ การนำเอาเศษซากหรือวัสดุต่างๆ ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ได้มาจากพืช เช่น เศษหญ้า ใบไม้ ฟางข้าว ผักตบชวา หรือแม้แต่ขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมากองรวมกัน รดน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะ หมักไว้จนกระทั่งเศษพืชหรือวัสดุเหล่านั้นย่อยสลายและแปรสภาพไป กลายเป็นขุยสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะพรุน ยุ่ย ร่วนซุย ที่เรียกว่า "ปุ๋ยหมัก" การย่อยและการแปรสภาพของเศษพืชหรือ วัสดุดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เรียกว่า "จุลินทรีย์" ซึ่งอาศัยอยู่ในกองปุ๋ยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้มีอยู่ มากมายหลายชนิดปะปนกันอยู่และพวกที่มีบทบาทในการแปรสภาพวัสดุมากที่สุดได้แก่ เชื้อราและเชื้อบักเตรี
วิธีการหมักวัสดุต่างๆ ให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก อาจทำใด้หลายๆ วิธี แตกต่างกันไป เช่น การหมักเศษพืชแต่เพียงอย่างเดียวหรือมีการเติมมูลสัตว์หรือปุ๋ยเคมีลงไปในกองปุ๋ยด้วย เพื่อเร่งให้เศษวัสดุแปรสภาพได้เร็วขึ้น การใส่ผงเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มเติมลงไปกองปุ๋ยเพื่อเสริมเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติหรือการมีรูปแบบของการกองปุ๋ยแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละวิธีอาจใช้ระยะเวลาในการหมักไม่เท่ากัน และปุ๋ยหมักที่ได้ก็มีคุณภาพแตกต่างกันไป

http://www.northernstudy.org/puyy.html

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การไปศึกษาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง






วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 เวลา07.00น. ก็ออกเดินทางไปที่ศูนย์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ ถึง เวลา09.15น. ก็ไปเปิดค่ายเสร็จแล้วก็ร่วมกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน จากนั้นก็ไปฝึกระเบียบแถว การเดินแถว เสร็จแล้วก็ไปรับประทานอาหารกลางวัน แล้วก็นำกระเป๋าไปเก็บไว้ที่ห้องพัก และเตรียมตัวไปดูวีดีโอทัศน์เรื่อง ประวัติและความเป็นมาของศูนย์ฯและเศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร ดูนิทรรศการของศูนย์ฯ ไปเรียนรู้การเพาะเห็ด น้ำหมักขอหมูหลุม ตอนเย็นพวกผมก็ไปเล่นฟุตบอลกับพี่ทหารเล่นเสร็จก็ไปรับประทานอาหารเย็น แล้วไปอาบน้ำ เวลา19.30น. ก็ลงไปร่วมกิจกรรมในตอนกลางคืน สองทุ่มครึ่งก็กลับห้อง เวลา21.00น. วิทยากรก็เป่าสัญญาณนอนหลับ
วันที่9พฤศจิกายน ตอนเช้าผมตื่นมาอากาศก็หนาวมาก จากนั้นหลังจากล้างหน้าแปรงฟันเสร็จก็ได้เตรียมตัว
ไปออกกำลังกาย วิทยากรก็มอบหน้าที่ให้แถวผมไปล้างห้องน้ำชาย แล้วไปกินข้าว พอววิทยากรให้สัญญาน
เรียกเพื่อที่จะศึกษาต่อในฐานของงานศิลปรชีพก็จะมีอยู่2หัวข้อคือ การทำกระดาษสาและงานปั้นดิน
พอศิกษาเสร็จก็ไปฐานนาข้าว ก็ได้ดูควายแสดง แล้วลงไปไถนา ปลูกข้าว พอปลูกเสร็จทุกคนก็ไปล้างมือ ล้างเท้า จากนั้นก็ไปรับประทานอาหารกลางวัน ตอนบ่ายก็มีกิจกรรม วัดใจ ก็จะมีทั้งหมด 9ฐาน
เวลา 15.00น ก็ได้ปิดงานแล้วก็กล่าวขอขอบคุณพี่วิทยากรและพี่ทหารที่มาให้ความรู้สนุกแก่นักเรียน
ทุกคน แล้วเดินทางกลับ จังหวัด ลำปาง มาถึงก็ ๕ โมงกว่า